top of page
qvp1lnmafdEsRNLL41L-o.jpg

ประวัติหลวงพ่อโต

หลวงพ่อโตวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร เป็นพระพุทธรูปปรางมารวิชัย มีหน้าตักกว้าง ๘๑ นิ้ว สูง ๙๙ นิ้ว องค์พระแกะสลักด้วยศิลาแลง (หินทรายแดง) ผิวไล้ด้วยปูนเป็นศิลปะสมัยอู่ทอง พระพักตร์กลมอิ่มยิ้มละไม ในส่วนของพระเมาลีตอนโคนสุดเป็นรูปกลีบบัว ส่วนปลายแหลมเป็นเปลวเพลิง ตรงกลางเป็นรูปอุณาโลม เม็ดพระสกขมวดปลายแหลมเป็นก้นหอย พระกรรยาวจรดพระอังศา พระอังศสและพระอุระใหญ่กว้างแลผึ่งผายสง่างามยิ่งนัก พระเพลาเป็นแบบสมาธิธรรมดา พระหัตถ์ขวาวางค่ำบนพระชานุ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา ซึ่งเราเรียกปางนี้ว่า “ชนะมาร, สดุ้งมาร, มารวิชัย” ลำองค์ได้สัดส่วนห่อหุ้มด้วยทองคำเปลว ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์มีบุญญาภินิหารมาก เป้นที่เคารพสักการะของประชาชน ทั้งชาวจีนและชาวไทย ในจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดใกล้เคียง ดังจะเห็นว่า จะมีประชาชนเดินทางมากราบไหว้ขอพรจากท่านตลอดเวลาทุกวัน โดยเฉพาะในช่วงงานประจำปีปิดทปงขอพรหลวงพ่อโตนั้น จะมีประชาชนจากทั่วทุกสารทิศต่างหลั่งไหลมากันเนืองแน่นตลอดงาน จนทำให้องค์หลวงพ่อโตนั้นนิ่มไปทั้งองค์ด้วยแผ่นทองคำเปลวที่เกิดจากความศัทธาของพทุธศาสนิกชน

ความเป็นมา

หลวงพ่อโต ไม่ปรากฎหลักฐานการสร้างแต่อย่างใด แต่สันนิษฐานตามพุทธลักษณะแล้วเชื่อว่า เป็นพระพุทธรูปโบราณสืบอายุยืนนานมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่เดิมหลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปในจังหวัดสมุทรสงคราม ต่อมาวัดดังกล่าวได้ถฝุกให้ทิ้งร้าง ภายหลังได้พังทลายไปในแม่น้ำแม่กลอง  คงเหลือแต่หลวงพ่อโตถูกทอดทิ้งให้ตากแดด ตากฝนบนเนื้อที่เพียงนิดเดียว แต่ด้วยบุญฤทธิ์และด้วยเทวาภินิหารแห่งเทพผู้พิทักษ์รักษาองค์หลวงพ่อโต จึงบันดาลให้หลวงพ่อแฟง (เจ้าอาวาสรูปที่ ๒ ของวัดหลักสี่ฯ) ได้ไปพบเห็นจึงได้ขอจากทางราช เมื่อได้รับอนุญาต จึงอัญเชิญท่านไปประดิษฐานเป็นกาลชั่วคราวที่วัดดอนมโนรา เมื่อหลวงพ่อโตไปอยู่วัดดอนมโนรานั้น มีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก แต่ก็ยังไม่ได้รับการบูรณะตกแต่งแต่อย่างใด ต่อมาประชาชนชาวหลักสี่ ได้พร้อมใจกันไปอาราธนาหลวงพ่อแฟง ให้ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหลักสี่ฯ สืบต่อจากหลวงพ่ออ่ำ ซึ่งได้สละตำแหน่งเจ้าอาวาสไปอยู่ที่อื่น หลวงพ่อแฟงเห้นแต่ลูกหลานและศิษายานุศิษย์ของท่านจึงรับอาราธนาไปเป้นเจ้าอาวาส และขอนำหลวงพ่อดตไปด้วย เมื่อท่านมารับตำแหน่งเป้นเจ้าอาวาส ท่านจึงได้บอกแก่ชาวบ้าน และลูกหลาน ให้ไปช่วยกันอัญเชิญหลวงพ่อโตมาจากวัดดอนมโนรา 

เมื่อหลวงพ่อโตได้ทาถึงวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสรแล้ว หลวงพ่อแฟงพร้อมด้วยพุทธศาสนิกชน ได้รับอันเชิญหลวงพ่อโตขึ้น และให้ท่านประดิษฐานอยู่หน้าวัดริมคลองดำเนินสะดวก ต่อจากนั้นก็ได้ปลูกวิหารมุงจาก พอกันแดดกันฝนให้หลวงพ่อโตเป้นการชั่วคราวก่อน และต่อมาก็ได้ทำการซ่อมองค์หลวงพ่อโตในส่วนที่ชำรุด ให้กลับมามีสภาพที่สมบูรณ์ และประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปศักดิ์ประจำวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร มาจนถึงในปัจจุบันนี้
 

ประวัติการสร้างวิหาร

นับแต่หลวงพ่อโตได้มาประดิษฐานที่วัดหลักสี่เป้นการถาวรแล้ว ทางวัดได้มีการสร้างวิหารถวาย่ทาน จำนวน 4 หลังดังนี้

วิหารหลังที่ 1 เป็นวิหารไม้มุงจาก เป็นวิหารหลังแรกที่หลวงพ่อแฟงพร้อมด้วยศรัทธาญาติโยมสร้างถวาย ที่ดินบริเวณดังกล่าวหายลงคลองไปหมดแล้ว 
 

วิหารหลังที่ 2 เป็นวิหารไม้มุงกระเบื้องปูนซีเมนต์ ภายในตีฝ้าไม้แล้วทาสีฟ้าสร้างถัดเข้าไปจากวิหารหลังเดิมแต่อยู่แนวเดียวกัน ได้แก่บริเวณที่ประดิษฐานอยู่ในปัจจุบันนั่นเอง เจ้าของห้างขายยาลือเลี่ยงเพ้ง ตราเสือดาว เป็นผู้สร้างถวาย เนื่องจากได้ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับกิจการปรุงยาขายซึ่งได้บนหลวงพ่อไว้ตั้งแต่เริ่มกิจการปรุงยาขาย ซึ่งได้บนหลวงพ่อไว้ตั้งแต่เริ่มทำกิจการสร้างในสมัยหลวงพ่อแฟงเช่นเดียวกัน เฉพาะฐานที่ประทับทำแบบง่ายๆ โดยก่ออิฐจากพื้นที่ดิน เสมอพื้นวิหาร ภายนอกฉาบปูน องค์หลวงพ่อจึงนั่งเสมอพื้น 

วิหารหลังที่ 3 เมื่อประมาณปี 2505 ก่อนงานประจำปีเพียงไม่กี่วัน หลังคาวิหารหลังที่ 2 ได้พังลงมาเพราะแรงลม กอรปกับความเก่าแก่ตามสภาพของกาลเวลาในคืนนั้นมีฝนตกหนัก ลมพัดแรงจึงทำให้หลังคาพังลงมาดังกล่าว ในคืนนั้นคหบดีเจ้าของโรงไม้อยู่ที่หลักสาม ได้ฝันว่าหลวงพ่อโตไปบอกให้ซ่อมวิหารให้ที รุ่งเช้าท่านผู้นั้นจึงได้รีบมาที่วัดหลักสี่ เมื่อไปถึงก็ได้เห็นวิหารหลวงพ่อที่ได้พังลงมา และโดยมิได้ลังเลใจขึ้นไปกราบเรียนหลวงพ่อเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน พร้อมกับเล่าความฝันให้ฟังแล้วขอรับเป็นผู้ถวายวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างทั้งหมด พระครูพิพัฒน์สาครธรรมจึงให้นายช่างบัว วาสุกี เป้นแม่งานในดการก่อสร้าง โดยรื้อวิหารหลังเก่าออก แล้วสร้างครอบองค์หลวงพ่อโต โดยไม่ได้ขยับเขยื่อนองค์หลวงพ่อแต่ประการใด ได้สร้างเป็นวิหารไม้ทรงไทยประยุกต์ มีปีกออกสองข้างกว้างกว่าวิหารหลังเดิมมากแต่สูงเท่าเดิม 


วิหารหลังที่ 4 พระครูพิพัฒน์สาครธรรม เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน มีความตั้งใจมุ่งมั่นมาเป็นเวลาช้านาน ในอันที่ จะสร้างวิหารที่ถาวรและสวยงาม ถวายเป็นพุธบูชาแด่องค์หลวงพ่อโต เป็นการตอบสนองพระคุณของหลวงพ่อตามหลักกตเวทิตาธรรม
ในฐานะที่หลวงพ่อโตเป็นปูชนียวัตถุสำคัญประจำวัดมาช้านาน และได้สร้างสรรค์ความเจริญให้วัดหลักสี่มาโดยลำดับ จนนับเป็นวัดที่ใหญ่โตมีสง่าราศรีวัดหนึ่งในคลองดำเนินสะดวก ประจวบกับเมื่อปลายปี พ.ศ. 2529 พระครูพิพัฒน์สาครธรรม เจ้าอาวาสได้อาพาธต้องเข้ารับกสรรักษาตัวที่โรงพยาบาลพญาไทยหลายครั้งหลายคราว ในระหว่างที่ท่านอาพาธอยู่นั้น คุณชัยวรรณ เกษสุวรรณ ผู้เป็นน้องชายของท่านได้ฝันว่า หลวงพ่อโตไปบอกว่าที่พระครูพิพัฒน์สาครธรรมป่วยครั้งนี้ ถ้าได้สร้างวิการใหม่ให้่ทนแล้วจะหายเป็นปกติดี เมื่อพระครูพิพัฒน์ได้ทราบความฝันจากน้องชายท่าน ประกอบกับมีความคิดที่จะสร้างเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อเหตุการณ์มาประจวบกันเข้ามาอย่างนี้ ท่านจึงได้พร้อมด้วยคณะสงฆ์ คณะกรรมการ ตลอดจนประชาชนที่มีความศรัทธาเลื่อมใสในองค์หลวงพ่อโต โดยทั่วไปพร้อมใจกันดำเนินการสร้างวิหารใหม่ ทั้งที่ไม่มีทุนรอนอยู่เลย แต่ท่านก็เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหารของหลวงพ่อโตที่จะช่วยให้สำเร็จลุล่วงไปได้ดังประสงค์ และการก็เป็นไปตามนั้น เพราะเมื่อประกอบพิธีการวางศิลาฤกษ์แล้ว เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2530 เวลา 8:30 น. พระครูสุนทระรรมวาที เจ้าคณะอำเภอบ้านแพ้ว เป็นประธานวางศิลาฤกษ์ จากนั้นเป็นต้นมาประชาชนต่างๆ ได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์เป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นหลวงพ่อโตยังได้บันดาลให้ผู้ไปขโมยขูดทองจากองค์ท่านไปเป้นจำนวนมากแล้ว นำมาคืนให้แก่ทางวัด พระครูพิพัฒน์สาครธรรม จึงได้นำทองนั้นมาเป็นส่วนผสมในการสร้างพระผงทองคำหลวงพ่อโต ซึ่งมีเพียงรุ่นเดียว เริ่มให้ประชาชนได้บูชาตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2532 เป้นต้นมา ได้ช่วยให้ทาววัดมีรายได้เป้นทุนในการก่อสร้างวิหารจนสำเร็จตามเป้าหมาย
   

อนึ่งเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2531 เวลา 09:09 พระครูพิพัฒน์สาครธรรมพร้อมด้วยประชาชน ได้ประกอบพิธีอัญเชิญหลวงพ่อโตขึ้นประดิษฐานบนวิหารหลังใหม่ซึ่งยังไม่เสร็จแต่ภายในใช้ได้โดยสมบรูณ์แล้ว ท่านที่ผ่านไปมาขณะนี้ จะเห็นหลวงพ่อโตเด่นสง่าเหนือฐานชุกชีประดุจบัลลังก์ ภายใต้ฉัตรทอง 5 ชั้นแวดล้อมด้วยอัครสาวกขวาซ้ายคู่บารมี วิหารหลังนี้คงจะเป็นสิการหลังสุดท้าย เพราะเมื่แสร้างเสร็จสมบรูณ์แล้วจะมีความคงทนถาวรและสวยงามสถิตสถาพรคู่กับหลวงพ่อโตตลอดไป

bottom of page